Wednesday, July 21, 2010

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง กรณีการฟื้นตัวของราคาหุ้น CK บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจโลกซับไพรม์

ข้อเท็จจริง


ราคาหุ้น CK ตกลงไปถึงจุดต่ำสุดที่ 2.08 บาทต่อหุ้น เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2551 จากนั้นได้ไต่ระดับขึ้นไปเป็นช่วง ๆ จนขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 7.10 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นระดับเส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 สัปดาห์ และเป็นแนวต้านที่แข็งแกร่งมาก เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2552 (ราคาเพิ่มขึ้น 241.35% ใน 45 สัปดาห์ หรือให้ผลตอบแทนเท่ากับดอกเบี้ยทบต้น 314.79% ต่อปี) ราคาหุ้น CK ไม่สามารถฝ่าแนวต้านสำคัญนี้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง จึงได้พักฐานลงมาสะสมพลังก่อนจะขึ้นไปทดสอบแนวต้านเส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 สัปดาห์เป็นครั้งที่สอง ที่ระดับ 6.52 บาทต่อหุ้น เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2553 แต่ไม่สำเร็จเป็นครั้งที่สอง หลังจากได้พักฐานต่ออีก 11 สัปดาห์ ราคาหุ้น CK จึงสามารถฝ่าแนวต้านเส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 สัปดาห์ ไปได้ในวันที่ 18 มิถุนายน 2553 ซึ่งในขณะนี้ ทั้งราคาหุ้น (6.55 บาทต่อหุ้น) เส้นค่าเฉลี่ย SMA 25 สัปดาห์ (5.69 บาทต่อหุ้น) และเส้นค่าเฉลี่ย SMA 50 สัปดาห์ (5.64 บาทต่อหุ้น) ต่างก็เคลื่อนตัวลู่เข้าหาเส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 สัปดาห์ (6.35 บาทต่อหุ้น) ทำให้แนวต้านที่ฝ่ามาได้กลายเป็นแนวรับสำหรับการดีดตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบต่อไป




การลงทุนในอุดมคติ กรณีที่ทำนายแนวโน้มได้ถูกต้องและเข้าซื้อลงทุนที่จุดต่ำสุด แล้วขายที่จุดสูงสุด
  • ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจซับไพรม์ ทำให้ราคาหุ้นของ CK ตกลงมากอย่างต่อเนื่องจนไปทำ จุดต่ำสุดที่ 2.08 บาทต่อหุ้น เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551
  • เราเข้าซื้อลงทุนหุ้น CK ที่จุดต่ำสุดพอดี (ในความเป็นจริงเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าขณะนั้นเป็นจุดต่ำสุดแล้ว)
  • รัฐบาลทั่วโลกได้อัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งกรณีของประเทศไทย ในช่วงนี้ CK ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-สะพานพระนั่งเกล้า ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน
  • ราคาหุ้นของ CK ฟื้นตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงจุดสูงสุดที่ 7.10 บาทต่อหุ้น เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2552
  • เราขายหุ้น CK และออกจากการลงทุนที่จุดสูงสุดพอดี (ในความเป็นจริงเราไม่รู้ว่าขณะนั้นจะเป็นจุดสูงสุด แต่จากกราฟทางเทคนิคเรารู้ว่าราคาหุ้นได้แตะระดับแนวต้านที่แข็งแกร่งนั่นคือระดับเส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 สัปดาห์)
  • การลงทุนในอุดมคติโดยการซื้อที่จุดต่ำสุดและขายที่จุดสูงสุดนี้ ทำกำไร 241.35% ใน 45 สัปดาห์ หรือเท่ากับผลตอบแทนของดอกเบี้ยทบต้น 314.79% ต่อปี




การลงทุนที่สามารถเกิดได้จริงถ้าลงทุนตามสัญญาณซื้อ-ขายที่เกิดจากเส้นค่าเฉลี่ย SMA ระยะยาวอย่างเคร่งครัด


  • ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจซับไพรม์ ทำให้ราคาหุ้นของ CK ตกลงมากอย่างต่อเนื่องจนไปทำ จุดต่ำสุดใหม่ที่ 2.08 บาทต่อหุ้น
  • ราคาหุ้น CK ฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดใหม่ขึ้นไปตัดผ่านเส้นค่าเฉลี่ย SMA 25 สัปดาห์ แล้วพักฐานโดยเคลื่อนไปตามแนวเส้นค่าเฉลี่ยนี้เป็นเวลา 20 สัปดาห์
  • ราคาหุ้น CK ขึ้นไปตัดผ่านเส้นค่าเฉลี่ย SMA 50 สัปดาห์
  • สอง-สามสัปดาห์ต่อมา ในวันที่ 19 มิถุนายน 2552 เส้นค่าเฉลี่ย SMA 25 สัปดาห์ ได้ขึ้นไปตัดผ่านเส้นค่าเฉลี่ย SMA 50 สัปดาห์ ที่ระดับ 3.65 บาทต่อหุ้น เกิดเป็นสัญญาณซื้อขึ้น เราเข้าลงทุนโดยซื้อหุ้น CK ที่ราคา 3.90 บาทต่อหุ้น
  • รัฐบาลทั่วโลกได้อัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งกรณีของประเทศไทย ในช่วงนี้ CK ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-สะพานพระนั่งเกล้า ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน
  • ในวันที่ 2 ตุลาคม 2552 ราคาหุ้น CK ได้ขึ้นไปทดสอบแนวต้านที่แข็งแกร่งมาก คือเส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 สัปดาห์ ที่ระดับ 7.23 บาทต่อหุ้น
  • โดยทั่วไปแล้ว มีโอกาสน้อยมากที่หุ้นซึ่งเพิ่งฟื้นตัวจะสามารถสะสมพลังจนสามารถฝ่าแนวต้านของเส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 สัปดาห์ไปได้ในการพยายามครั้งแรก เช่นเดียวกันกับหุ้นฟื้นตัวอื่น ๆ ราคาของ CK ไม่สามารถปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ย SMA 200 สัปดาห์ที่ 7.21 บาทต่อหุ้นได้ ทำให้เกิดสัญญาณขาย เราออกจากการลงทุนโดยขายหุ้น CK ที่ราคา 6.80 บาทต่อหุ้น ในวันที่ 9 ตุลาคม 2552
  • การลงทุนตามสัญญาณซื้อ-ขายจากเส้นค่าเฉลี่ย SMA ระยะยาวอย่างเคร่งครัดนี้ ทำกำไร 74.36% ใน 16 สัปดาห์ หรือเท่ากับผลตอบแทนของดอกเบี้ยทบต้น 512.14% ต่อปี

ภาพข้างล่างเป็นกราฟทางเทคนิครายสัปดาห์ ระยะเวลา 5 ปี ของหุ้น CK ณ วันที่ 16 กรกฎาคม 2553 คลิกที่กราฟเพื่อขยายให้ใหญ่ขึ้น




[Read this post in English]



ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่ facebook.com/thstockinvest twitter.com/thstockinvest

เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial

หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา  ชำแหละพื้นฐานหุ้น