Tuesday, January 31, 2012

เฉือนเปลือกนอกของหุ้น STA ออก ดูกำไรของผู้ถือหุ้นสะสมที่อยู่ข้างใน

ผมเฉือนเปลือกนอกของหุ้น STA ออก ดูข้อมูลปัจจัยพื้นฐานข้างในแบบสะสมค่า คือ พอได้กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงานสะสมและเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรสะสมแล้ว ผมเอาทั้งสองตัวลบกันได้เป็นกำไรของผู้ถือหุ้นสะสม ดังกราฟข้างล่าง (เส้นสีดำ) ทำนองเดียวกันผมสะสมค่าดอกเบี้ยจ่ายและเงินปันผลจ่ายเอามาวาดในกราฟเดียวกัน จะเห็นว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา เจ้าหนี้ (ธนาคาร) ได้ดอกเบี้ย (เส้นสีแดง) ไปพอ ๆ กับผู้ถือหุ้นได้เงินปันผล (ฺเส้นสีน้ำเงิน) ประมาณสามพันเกือบสี่พันล้านบาท แต่กำไรของผู้ถือหุ้นสะสมมีค่าเป็นลบมาโดยตลอด ไม่มีปีไหนเลยที่ค่ากำไรของผู้ถือหุ้นสะสมพลิกกลับเป็นบวก น่าเห็นใจผู้ถือหุ้นรายใหญ่จริง ๆ ครับ สายป่านยาวจริง ๆ ขอชม


2012-01-31 STA cumulative owner's earning, cumulative interest paid and cumulative dividend paid as of 2011Q3

===================================================

ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial
หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"

ผ่างบกระแสเงินสดของหุ้น STA ดูกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสะสม เทียบกับเงินลงทุนในที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนสะสม

ผมผ่างบกระแสเงินสดของหุ้น STA ดูกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสะสม เทียบกับเงินลงทุนในที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนสะสม ได้ผลออกมาดังกราฟข้างล่างครับ


2012-01-31 STA cumulative operating cash flows and cumulative capital spendings as of 2011Q3


ในกราฟนี้เราเห็นไ้ด้ว่ากิจการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ (เส้นสีแดง) จนถึงปัจจุบัน STA ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรไปแล้วประมาณ 6900 ล้านบาท แต่ในขณะเดียวกัน กระแสเงินสดจากการดำเนินงานก็ไหลออกจากกิจการอย่างน่ากลัวขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดมีเงินสดไหลออกไปแล้วประมาณ 15000 ล้านบาทครับ ในมุมมองส่วนตัวของผมแล้วเมื่อไหร่ที่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเปลี่ยนแนวโน้มกลับทิศเป็นไหลเข้ากิจการแบบค่อนข้างแน่นอนแล้ว หุ้น STA จึงจะเริ่มน่าลงทุนครับ

===================================================

ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial
หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"

ชำแหละหุ้น STA ดูรายได้สะสมและกำไรสุทธิสะสม

ผมได้ชำแหละงบการเงินหุ้น STA แผ่ให้เพื่อน ๆ ดูข้างในแบบรายไตรมาสแล้วในโพสต์ก่อน ๆ รู้สึกไม่ประทับใจเท่าไหร่ เพื่อให้แน่ใจ ผมจะตัดความผันผวนของผลประกอบการจากสาเหตุต่าง ๆ ออกไปโดยมองข้อมูลในรูปแบบตัวเลขสะสม จากปี 2002 ถึงปัจจุบัน มาดูครับว่าจะรู้สึกดีขึ้นบ้างหรือไม่ เริ่มจากรายได้สะสม และกำไรสุทธิสะสมก่อนดังกราฟข้างล่างครับ


2012-01-31 STA cumulative revenues and cumulative earnings as of 2011Q3


ตัวเลขรายได้ของ STA มีการสะสมตัวได้ดีครับ (เส้นสีดำ) แต่จะเห็นได้ว่าตัวเลขกำไรสุทธิสะสมไม่ค่อยอยากจะสะสมค่าในอัตราเดียวกันเลย (เส้นสีแดง) มองกำไรสุทธิสะสมแทบไม่เห็นเลยครับ กรณีเช่นนี้ แว่นขยายคงไม่ช่วยสักเท่าไหร่ครับ

===================================================

ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial
หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"

แกะงบการเงินหุ้น STA ดูกำไรของผู้ถือหุ้น


หลังจากเจาะงบการเงินของหุ้น STA จนได้กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน และเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรแล้ว ผมเอาทั้งสองอย่างลบกัน ได้เป็นกำไรของผู้ถือหุ้น (เส้นสีดำ) ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน คือผู้ถือหุ้น ยิ่งถือหุ้นนานยิ่งมีกำไรของผู้ถือหุ้นเฉลี่ยเป็นลบมากขึ้น เทียบขนาดของเงินปันผลที่ได้รับแล้วจิ๊บจ้อยมาก (เส้นสีน้ำเงิน) ดูภาระดอกเบี้ยจ่าย (เส้นสีแดง) แล้วไม่มากเท่าไหร่ แสดงว่าเงินที่ไหลออกจากกิจการอยู่นี้มาจากการเพิ่มทุนนั่นเองครับ (เพิ่มทุนจาก 200 ล้านหุ้น เป็น 1000 ล้านหุ้น และเป็น 1280 ล้านหุ้น)


===================================================

ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial
หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"

เจาะงบกระแสเงินสดของหุ้น STA ดูกระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน เปรียบเทียบกับเงินลงทุนในที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

ผมเจาะงบกระแสเงินสดของหุ้น STA ดูกระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน เปรียบเทียบกับเงินลงทุนในที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน รายไตรมาส ได้ผลลัพธ์ดังกราฟข้างล่างครับ


2012-01-31 STA operating cash flows and capital spendings as of 2011Q3


จากกราฟจะเห็นได้ว่า การดำเนินงานของกิจการ STA มีเงินสดไหลเข้า และไหลออกสลับกันไปมา (เส้นสีดำ) โดยเฉลี่ยแล้วมีเงินสดไหลออกมากกว่าไหลเข้าเล็กน้อย ส่วนเงินลงทุนในที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (เส้นสีแดง) นั้นก็มีขนาดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลาที่ผ่านไปครับ ยิ่งประกอบกิจการไปเรื่อย ยิ่งมีเงินไหลออกไปเรื่อย ๆ แล้วเงินที่ว่านี้เิอามาจากไหน ก็มาได้สองทางครับ คือ โดยการกู้เงิน (มีภาระดอกเบี้ยจ่าย) หรือการเพิ่มทุน (ไม่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย แต่ความเป็นเจ้าของกิจการเจือจางลง) มาถึงตรงนี้ ชักเริ่มไม่สวยแล้วครับ

===================================================

ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial
หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"

ชำแหละหุ้น STA ดูรายได้และกำไรสุทธิรายไตรมาส

ผมชำแหละงบการเงินของ STA เสร็จแล้วบางส่วน ยังคงเหลือแต่ส่วนที่เป็น การหามูลค่าที่แท้จริง เนื่องจากได้เห็นเครื่องในของ STA แล้วไม่อยากทำต่อเลย เปรียบเสมือนพระโยคาวจร พิจารณาอสุภะกรรมฐาน แล้วเบื่อหน่ายหญิงสาวที่สวยแต่ภายนอก เอาผิวหนังออกแล้วก็เห็นแต่เครื่องในไม่สะอาด ไม่น่ามอง ฉันใดก็ฉันนั้น ความอยากลงทุนในหุ้นตัวนี้ก็พลันมลายหายไปหมด  ทำไมผมไม่อยากหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นตัวนี้ ? ถ้าท่านอยากเป็นนักเก็งกำไรหุ้น 20 เด้ง ท่านสามารถข้ามซีรี่ส์เรื่องนี้ไปได้เลยครับ แต่ถ้าท่านอยากเป็นนักลงทุนความเสี่ยงต่ำ ผมจะพาทัวร์ไปทีละส่วนทีละโพสต์นะครับ


2012-01-31 STA revenues and earnings as of 2011Q3


เริ่มจากรายได้และกำไรสุทธิรายไตรมาสของหุ้น STA ก่อน กราฟข้างบน ก็ดูดีนะครับ เีสียอย่างเดียวขนาดของกำไรสุทธิ (เส้นสีแดง) กับขนาดของรายได้ (เส้นสีดำ) มันห่างกันมากมาย

===================================================

ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial
หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"

Monday, January 30, 2012

บทเรียนใหม่ของผม "In an uncertain situation, always look at the big picture !"

ปลายเดือนกันยายน 2011 ตลาดเกิด panic sell ในเวลาประมาณ 3 เดือน (สิงหาคม - ตุลาคม) ดัชนี SET ได้ลดจากระดับประมาณ 1150 จุด เหลือ 850 จุด ในช่วงที่ SET ลงมาเกือบจะถึง 850 จุด นั้น มีนักเทคนิคหลายท่านเช่น คุณเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก ได้บอกว่า 850 จุดเป็นระดับต่ำสุดแล้วให้เข้าลงทุนไ้ด้ ในตอนนั้น ผมไม่เชื่อคำแนะนำนี้เลยแม้สักนิดเดียว หลายคนบอกว่า คุณเอกพิทยา ฆ่าตัวตายที่ออกมาฟันธงแบบนั้น ผมเลือกที่จะเชื่อ มาร์ค เฟเบอร์ ผู้จัดการเฮดจ์พันด์ที่มาปักหลักลงทุนอยู่ที่เชียงใหม่ซึ่งบอกว่า ถ้า SET ไม่ลงมา 750 เขาจะไม่ลงทุนเพิ่ม ในช่วงนั้น ผมเองเชื่อว่า ปัญหาหนี้ยุโรปและน้ำท่วมใหญ่ที่หนักขึ้นเรื่อย ๆ น่าจะทำให้ SET ลงไปต่ำกว่า 850 ได้อีก จึงเลือกที่จะถือเงินสด 100% มาถึงตอนนี้ทุกท่านคงทราบดีว่า ในครั้งนั้น คุณเอกพิทยาฟันธงไว้ถูกต้อง และผมเองที่คิดผิดจนต้องนั่งมองดูตลาดปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 225 จุด ผมทบทวนเหตุการณ์ พยายามหาดูว่า เราพลาดตรงไหน บทเรียนอะไรที่เราควรได้เรียนรู้จากความผิดพลาดครั้งนี้ ? 

เมื่อวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2012 พี่ณัฐวุฒิ รุ่งวงษ์ (รุ่นพี่โรงเรียนของผม) ได้โพสต์ในเฟสบุ๊คว่า ถ้าวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2012 SET ปิดเหนือ 1,080 จุดได้ SET น่าจะไปต่อได้อีก ผมเห็นกราฟ SET ของพี่ณัฐวุฒิ แล้วก็ไขปัญหาแตกโพล๊ะ ผมพลาดไปเพราะดันลืมมองภาพใหญ่นั่นเอง "In an uncertain situation, always look at the big picture !" หลังจากตีอกชกลมจนสาสมแก่ความโง่และเซ่อของตัวเองพอสมควรแล้ว ผมไปดู "big picture" โดยไปที่ Bigcharts.com กรอกรหัสหุ้น TH:SET แล้วเรียกดู advanced chart รายเดือน ครอบคลุมข้อมูลทั้งหมดที่ Bigcharts.com มีอยู่ ได้เป็นกราฟรายเดือนครอบคลุม ช่วงปี 1993 - ปัจจุบัน (ปฏิวัติ รสช ปี 1991 ตกขอบกราฟทางซ้ายมือไป 2 ช่อง ไม่เห็นในภาพ) เมื่อได้ภาพออกมาแล้ว ผมบันทึกภาพกราฟลงคอมพิวเตอร์ จากนั้นเปิดไมโครซอฟท์เวิร์ดขึ้นมา วางภาพที่เพิ่งบันทึกเอาไว้ลงในเอกสารเปล่า แล้วลงมือย้อนรอยอดีตทันที 

2012-01-30-SET-keep-track-of-the-big-picture-monthly

ผมสังเกตว่า นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 1997 เป็นต้นมา SET ได้ทำ new high ไว้หลายแห่ง เช่น กลางปี 1999, ต้นปี 2004, ปลายปี 2007 และล่าสุด กลางปี 2011 ผมใช้ drawing tool ในไมโครซอฟท์เวิร์ด ลากเส้นตรงเชื่อมต่อจุดสูงสุด ดัึงกล่าวมา ได้เส้นสีแดงดังภาพ จากนั้นจึงทำสำเนาเส้นที่ลากขึ้นนี้ โดยแตะตัวชี้ไปที่เส้น จากนั้น กด CTRL-C และ CTRL-V (หรือเลือก copy และ paste ก็ได้) โปรแกรมจะสร้างเส้นตรงใหม่ที่มีความชันเท่ากับเส้นสีแดงแต่เหลื่อมไปทางขวาเล็กน้อย ผมทำสำเนาเส้นที่เกิดขึ้นใหม่ด้วยกระบวนการเหมือนเดิมไปเรื่อย ๆ ผมประหลาดใจมากที่ ไมโครซอฟท์เวิร์ดสามารถวางเส้นใหม่ลงในตำแหน่งที่เชื่อมต่อจุดสูงสุด หรือ จุดต่ำสุด หลาย ๆ แห่งในกราฟได้อย่างใกล้เคียงมาก อาศัยการจัดตำแหน่งเส้นใหม่อีกเล็กน้อย ผมได้เส้นสีน้ำเงิน ที่ลากไปแตะจุดต่ำสุดของ SET ในวิกฤติซับไพรม์ บริเวณ 400 จุุด  ถึงตอนนี้ผมได้ช่องแนวโน้มความเป็นไปของ SET แบบ big picture ออกมา โดยมีแนวต้านใหญ่เป็นเส้นสีแดง และเส้นแนวรับใหญ่เป็นเส้นสีน้ำเงิน จากนั้นผมมองไปที่บริเวณ 850 จุดพบว่า เส้นแนวโน้มเส้นหนึ่งเชื่อมต่อจุดต่ำสุดของวิกฤติต้มยำกุ้งบริเวณประมาณ 200 จุด บริเวณกลางปี 1998 เข้ากับจุดสูงสุดบริเวณกลางปี 2002 เข้ากับจุดต่ำสุดที่เกิดจาก การบังคับเก็บภาษีเงินทุนไหลออกนอกประเทศ 30% ของหม่อมอุ๋ยในรัฐบาลขิงแก่ ปลายปี 2006 เข้ากับ new high ย่อย ๆ บริเวณปลายปี 2009 ต่อต้นปี 2010 ผมเปลี่ยนสีเส้นแนวโน้มนี้เป็นสีเขียว ดังภาพครับ ผมไม่แปลกใจแล้วว่าทำไมคุณเอกพิทยาถึงได้กล้าฟันธงว่า 850 จุด เป็นระดับต่ำสุดแล้วสำหรับการปรับฐานเมื่อเดือนตุลาคม 2011 เพราะเส้นสีเขียวของผมลากผ่านจุดดังกล่าวพอดี  ผมพิจารณาต่อไปอีกพบว่า เส้นสีเขียวที่ได้ออกมา อยู่ตรงกลางระหว่างเส้นสีแดง และเส้นสีน้ำเงิน พอดีอีกด้วย !!!

ถ้าเพื่อนนักลงทุนตามผมมาถึงจุดนี้แบบเข้าใจแจ่มแจ้ง ผมเชื่อแน่ว่าท่านเองก็สามารถสร้าง big picture ไว้ใช้เองโดยไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ก่อนจบโพสต์นี้ ผมอยากชี้ให้เห็นว่า ระดับของ SET แถว ๆ 1075 ในปัจจุบันได้เคลื่อนเข้าใกล้เส้นสีแดงมากแล้ว ดูจากทิศทางการเคลื่อนตัวของราคาหุ้น คาดว่าน่าจะชนเส้นสีแดงแถว ๆ 1200 - 1250 จุด น่าลุ้นเป็นอย่างยิ่งว่าจะฝืนชะตาฟ้าทะลุ 1200 จุดขึ้นไปได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ SET ก็จะเด้งไปมาเป็นลูกปิงปองระหว่างเส้นสีแดงและสีเขียว แต่หากว่าสามารถฝืนลิขิตฟ้าได้ แนวต้านที่ปลายสายรุ้งก็คือ แนวเส้นสีดำบริเวณ 1800 จุด ตรงกับจุดสูงสุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยเส้นนี้ลากผ่านจุดต่ำสุดเมื่อกลางปี  1993 (หลังการลุกขึ้นสู้ "พฤษภาประชาธรรม" 1 ปี) พอดี ในกราฟก่อนเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งโปรดสังเกตว่า SET พุ่งจาก ประมาณ 825 จุด ขึ้นไป 1750 จุด หรือมากกว่าสองเท่า ในเวลาเพียง 8 เดือน พุ่งแรงจนน็อคคาที่เลยครับ

===================================================

ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial
หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"

Friday, January 27, 2012

ในกราฟหุ้น IVL รายวัน มีการบีบตัวของแถบบอลลิงเกอร์ และเริ่มระเบิดกว้างขึ้น


ในโพสต์ก่อน ผมตั้งข้อสังเกตกราฟหุ้นของ IVL ว่าเกิดการบีบตัวของแถบบอลลิงเกอร์ (เส้นคู่สีแดงในกราฟข้างล่าง) และตามปกติจะตามมาด้วยการระเบิดกว้างออกของแถบพร้อมการพุ่งขึ้น หรือพุ่งลงของราคาหุ้น วันนี้ผมดูกราฟรายวันรอบ 6 เดือนของ IVL พบว่า เริ่มมีการขยายตัวของแถบบอลลิงเกอร์ โดยมีราคาหุ้นคลอเคลียไปตามเส้นขอบบนของแถบ ถ้าเราดูครึ่งซ้ายของกราฟจะเห็นว่าราคาหุ้นคลอเคลียตามเส้นขอบล่างของแถบบอลลิงเกอร์ในแนวโน้มขาลง ช่วงกลางของกราฟมีความพยายามจะเด้งขึ้นมาทางเส้นขอบบนทำให้ราคาหุ้นสะท้อนไปมาระหว่างเส้นขอบบนและเส้นขอบล่างของแถบ แต่ช่วงการสวิงตัวแคบลงเรื่อย ๆ พร้อมการบีบคอดเข้าของแถบ ในขณะนี้ราคาหุ้นสามารถรักษาระดับให้อยู่ในครึ่งบนของแถบบอลลิงเกอร์ได้แล้ว และดูเหมือนจะเริ่มคลอเคลียขึ้นไปตามเส้นขอบบน ลักษณะเช่นนี้มีโอกาสมากที่จะเคลื่อนตัวขึ้นด้านบนครับ ระดับที่ต้องจับตาดูต่อไปคือ 33.25 บาท (high เดิมของเดือนธันวาคมที่ผ่านมา) ถ้าสัปดาห์นี้ปิดที่ 33.50 บาทขึ้นไปได้ น่าจะขึ้นต่อไปได้ ระดับถัดขึ้นไปคือ 37 บาท (high เดิมของเดือนตุลาคมปีที่แล้ว) แนวต้านใหญ่จริง ๆ อยู่ที่ 45 บาทครับ บรรยากาศลงทุนตอนนี้ควรระลึกไว้เสมอว่า เส้นตายที่กรีซจะชักดาบคือ 20 มีนาคม 2012 ครับ

2012-01-26 IVL Bollinger band starts expanding

===================================================

ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial
หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"