Wednesday, February 17, 2010

ราคาหุ้นจะเคลื่อนไปในทิศทางที่มวลชนขาดทุนเสมอ คุณเห็นด้วยหรือไม่?

ท่านนักลงทุนที่ติดตามการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นตลาดของไทย หรือตลาดต่างประเทศ เคยเอะใจบ้างหรือไม่ครับว่า ไม่ว่า หลังจากที่ดัชนีหุ้นต่าง ๆ ขึ้น หรือลงไปเรียบร้อยแล้ว จะมีข่าวตามหลังออกมาช่วยอธิบายเหตุผลประกอบการขึ้นหรือตกของหุ้นได้เสมอ และเป็นเหตุผลที่ฟังดูดีทุกครั้ง เช่น ต้นปี 2553 หลังเทศกาลปีใหม่ ดัชนี SET อยู่ที่ระดับประมาณ 750 จุด และอยู่ในข่าย over bought หรือมีการซื้อหุ้นมากเกินไป มาได้ระยะหนึ่งแล้ว แสดงว่าพร้อมจะปรับฐานลงได้เสมอ นักวิเคราะห์จากหลายค่ายต่างออกมาคาดการณ์ว่าจะเกิด January effect หรือการพุ่งขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในช่วงเดือนมกราคม แต่แล้วในปลายเดือนมกราคม 2553 หุ้นก็เริ่มปรับฐานลงโดยไม่เกิด January effect ตามที่หลายคนคาดไว้ ไม่กี่วันต่อมาก็มีข่าวตามออกมาอธิบายเหตุผลที่หุ้นตกว่าเป็นเพราะรัฐบาลจีนได้ออกมาควบคุมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไม่ให้ร้อนแรงเกินไป ฟังดูเป็นเหตุผลที่เข้าทีดี หลังจากนั้นดัชนี SET ก็ปรับตัวลงเรื่อย ๆ จนมาอยู่ที่ระดับ 680-690 จุด ในสัปดาห์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์ 2553 และแล้วก็มีเหตุผลออกมาอธิบายเพิ่มเติมว่าหุ้นตกเพราะนักลงทุนเกิดความกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของประเทศ กรีซ สเปน โปรตุเกส รวมทั้งเริ่มมีแนวโน้มที่ประธานาธิบดีโอบามาของสหรัฐจะออกนโยบายควบคุมลักษณะธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์ในบางรูปแบบที่อาจทำให้เกิดวิกฤติการเงินได้อีกในอนาคต จะเห็นว่าทุกเหตุผลที่มีผู้แจกแจงออกมาล้วนอธิบายการตกของดัชนีหุ้นได้ดีทั้งสิ้น


ทีนี้ลองย้อนกลับมาดูการลงทุนของท่านเองดูสิครับว่า น่าแปลกไหม แล้วทำไมเราไม่ขายหุ้นของเราตั้งแต่หลังปีใหม่ไม่นานซึ่งดัชนียังไม่ตกแล้วค่อยมารอรับชื้อคืนในตอนที่ดัชนีตกลงมามากๆ เช่นในปัจจุบัน (กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2553)? ตามความจริงแล้วจะเห็นได้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของการปรับฐานของดัชนี SET ในเดือนมกราคม 2553 นั้นเป็นเพราะว่า SET ได้ปรับตัวขึ้นไปมากแล้วในปี 2552 เมื่อดูจากปัจจัยทางเทคนิคก็เห็นอยู่แล้วว่าดัชนีอยู่ในข่าย over bought มานาน ทำไมเราจึงไม่เชื่อสิ่งที่เราเห็นจากปัจจัยทางเทคนิค ซึ่งไม่ใช่ความลับอะไรเลย นอกจากจะไม่ขายหุ้นออกไปแล้ว เรายังกลับซื้อเพิ่มเข้าไปอีก ผลก็คือติดหุ้นที่ยอดดอยพอดีเป๊ะ ท่านนักลงทุนเคยถามตัวเองไหมว่า ทำไมเราจึงตัดสินใจไปอย่างนั้น เป็นเพราะบรรยากาศรอบตัวในขณะนั้นมีความหวังเรืองรองว่าจะเกิด January effect ทำให้เราหลิ่วตาเลือกมองข้ามสัญญาณ over bought ของ SET และเลือกจะรับฟังข่าวดีหรือความเห็นจากนักวิเคราะห์เรื่อง January effect ซึ่งตรงกับที่เราหวังไว้อยู่แล้ว


(คลิกกราฟเพื่อขยาย)


ผมขอแบ่งปันเหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ในกรณีหุ้นในตลาดสหรัฐอเมริกาช่วงหลังปีใหม่ หุ้น Google (GOOG) ซึ่งได้เคยทำราคาสูงสุดไว้ที่ประมาณ 700 USD เมื่อก่อนเกิดวิกฤติแฮมเบอเกอร์ ได้ตกลงไปอย่างแรงและต่อเนื่องลงไปจนถึงระดับราคาประมาณ 300 USD ต่อมาเมื่อวิกฤติเริ่มคลี่คลาย หุ้น Google ได้ไต่ระดับขึ้นมาเรื่อย จนทะลุแนวต้านสำคัญที่ระดับประมาณ 600 USD ในช่วงท้ายของปี 2552 พอช่วงหลังปีใหม่ ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐทยอยประกาศออกมาในด้านบวก ในระยะนี้คนจำนวนมากมีความหวังเรืองรองว่าน่าจะเกิด January effect แม้แต่ Jim Cramer นักวิเคราะห์หุ้นชื่อดังยังออกมาประกาศว่า เขาเปลี่ยนระดับเป้าหมายราคาหุ้น Google จาก 650 USD เป็น 750 USD แต่ จู่ ๆ ราคาหุ้นก็เริ่มตกอย่างไม่มีสาเหตุ ไม่กี่วันต่อมามีข่าวว่าสองผู้ร่วมก่อตั้ง Google คือ Sergey Brin และ Larry Page ได้ขายหุ้น Google ออกมาที่ราคาประมาณ 550 USD เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นลง และนำเงินคนละ 2,750 ล้าน USD ออกไปลงทุนด้านอื่น ราคาหุ้นจึงลดลงมาเรื่อย ๆ ปลายเดือนมกราคม 2553 Google ประกาศผลประกอบการไตรมาสสุดท้ายออกมาดีเกินคาด ข่าวดีนี้ไม่ได้ช่วยอะไรเพราะไม่นานก็มีข่าวตามมาว่ามีคนเข้าไปเจาะบัญชี gmail ของนักกิจกรรมที่ต่อต้านรัฐบาลจีน จน Google ขู่ว่าจะถอนตัวออกจากตลาดจีน จากนั้นราคาหุ้น Google จึงลงไปแช่อยู่ที่ระดับ 520 - 540 ในปัจจุบัน ข่าวร้ายต่าง ๆ ที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องล้วนช่วยอธิบายว่าทำไมหุ้น Google จึงเคลื่อนลงในลักษณะอย่างที่ปรากฎอย่างสมเหตุสมผลอย่างยิ่ง จากเหตุการณ์ดังกล่าว ท่านนักลงทุนคิดออกไหมครับว่าทำไมสองผู้ก่อตั้ง Google จึงได้ขายหุ้นออกมาแลกเงินสดจำนวนมากถึงคนละ 2,750 ล้าน USD ในช่วงกลางเดือนมกราคม ถ้าเราดูจากกราฟทางเทคนิคจะพบคำตอบว่า หลังปีใหม่ ราคาของหุ้น Google ได้ขึ้นมามากแล้วนับจากต้นปี 2552 และอยู่ในข่าย over bought มานาน จากรูปการณ์นี้ นักลงทุนคงจะเดาได้ว่า อย่างไรเสียหุ้น Google ก็ต้องมีการคลายตัวปรับฐานลงมาแน่นอน ดังนั้นการขายหุ้นแลกเงินสดของสองผู้ก่อตั้งจึงต้องทำก่อนราคาหุ้นจะตกลงมาก ๆ ซึ่งก็คือขณะที่หุ้นอยู่ในข่าย over bought มาก ๆ และนักลงทุนต่างคาดการณ์ว่าจะเกิด January effect ในเดือนมกราคม นั่นเอง แล้วทำไมขณะนั้นเราไม่ขายหุ้น Google ออกมาก่อนแล้วค่อยไปรอรับในราคาต่ำมาก ๆ ดังเช่นในปัจจุบัน เหตุผลก็ยังเหมือนเดิมครับ คือลึก ๆ แล้วเราหวังว่าหุ้น Google จะขึ้นไปอีกตามคาดการณ์ของ Jim Cramer ผู้โด่งดัง โดยเลือกที่จะไม่เชื่อสัญญาณ over bought ที่แสดงในกราฟทางเทคนิคที่เห็นอยู่ตำตา


(คลิกที่กราฟเพื่อขยายให้ใหญ่ขึ้น)


สุดท้ายแล้วเราได้เรียนรู้อะไรจากกรณีการปรับฐานครั้งล่าสุดของ ดัชนี SET และ Google? คำตอบคือ กาลามสูตร ยังไงล่ะครับ พระท่านสอนให้เราเชื่อในความจริงตามหลักฐานที่มีอยู่ ไม่เชื่อตามข่าว หรือตามความโด่งดังของผู้เชี่ยวชาญที่ออกมาคาดเดาต่าง ๆ นานา เพราะเงินในกระเป๋าของเราย่อมเป็นของเรา ไม่มีใครมาบังคับให้เราซื้อตอน over bought และขายตอน over sold ได้เลย แล้วทำไมเรายังทำแบบเดิม ๆ อยู่ได้ เพราะเราไม่เข้าใจว่า การซื้อขายหุ้นนั้น ไม่สามารถทำไปด้วยเหตุด้วยผลตามปกติได้ เพราะทิศทางราคาหุ้นที่เป็นไปแล้ว จะเป็นตัวกำหนดลักษณะของคำอธิบายที่จะตามมา ไม่ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง จะมีข่าวออกมาอธิบายการเป็นไปของหุ้นตามมาอย่างสมเหตุสมผลเสมอ แต่คำอธิบายเหล่านั้นจะไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลยเนื่องจากมันสายไปเสียแล้ว เราและมวลชนส่วนมากได้ขาดทุนไปแล้ว เหตุการณ์ลักษณะคล้าย ๆ กันนี้จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต และราคาหุ้นจะเคลื่อนตัวไปในทิศทางที่มวลชนคนส่วนมากในตลาดหุ้นขาดทุนเสมอไม่เปลี่ยนแปลง แล้วเมื่อไรเราจะแยกตัวออกจากมวลชน เมื่อไรจะมองออกก่อนที่หุ้นจะตกเสียที ... คำตอบอยู่ในสายลมครับ ...


ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่ facebook.com/thstockinvest twitter.com/thstockinvest

เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial

หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา  ชำแหละพื้นฐานหุ้น

Tuesday, February 9, 2010

2010-02-09 Marc Mobius's way to quick stock valuation.

I read an investment article in settrade.com about Marc Mobius by Dr.Nives Hemvajirawarakorn (25 May 2009). In this article, Mobius suggested his way of investment into 47 rules. For me, I only memorize some of them for my personal investment as below:


1. Patience gives profitable returns (hold some cash while waiting patiently in order to buy stocks when your opportunities arrive. I added this myself.)
2. The value of a stock can be approximated from net asset (less liabilities) divided by total share outstanding.
3. Whenever there are bad news and hopelessness everywhere, it's the best time to buy stocks.
whenever there are good news and hopes, it's the best time to sell stocks.
Use stock value approximated in step 2 in considerations whether the stock of interest is cheap enough to buy or expensive enough to sell.
4. Buy stocks when the price drops. Wait patiently for market panic, then calmly buy cheap stocks.


After pondering these 4 rules, I've constructed a table and calculated thai stock valuations using 4 figures including assets, liabilities, number of share outstanding and dividend yield obtained from settrade.com.
It turned out that with simple calculations, I can quickly find stock values by myself. Previously, I've never known whether a stock was cheap or expensive. What I could do was seeking for stock analyst opinions and blindly buy stocks based on good news or on self expectations. That's why Mobius himself find stock values so quickly. The readers may try this by yourselves to get this valuable experience.


[ อ่านโพสต์นี้ในภาษาไทย ]



ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่ facebook.com/thstockinvest twitter.com/thstockinvest

เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial

หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา  ชำแหละพื้นฐานหุ้น

2010-02-09 วิธีประมาณมูลค่าหุ้นอย่างรวดเร็ว ตามแบบ มาร์ค โมเบียส

ผมได้อ่านบทความใน settrade.com เกี่ยวกับ มาร์ค โมเบียส เขียนโดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (25 พ.ค. 2009) ในบทความสรุปแนวการลงทุนของ มาร์ค โมเบียส เป็นข้อ ๆ ทั้งหมด 47 ข้อ ผมจำไว้ใช้เพียงบางข้อเช่น


1. การอดทนรอคอยให้ผลตอบแทนคุ้มค่า (ระหว่างรอต้องมีเงินสดในมือเพื่อเข้าซื้อเมื่อโอกาสมาถึง อันนี้ผมเติมเอง)
2. มูลค่าหุ้นประมาณได้จากสินทรัพย์สุทธิ (หักหนี้สินแล้ว) หารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมด
3. ขณะใดเต็มไปด้วยข่าวร้าย หมดหวัง ขณะนั้นดีที่สุดที่จะซื้อ
ขณะใดเต็มไปด้วยข่าวดี มีหวังเรืองรอง ขณะนั้นดีที่สุดที่จะขาย
พิจารณามูลค่าหุ้นในข้อ 2 ประกอบว่าหุ้นถูกน่าซื้อ หรือแพงเกินไปน่าขาย
4. ซื้อหุ้นตอนราคาตก รอให้เกิดการแตกตื่นก่อนจึงค่อย ๆ เข้าซื้ออย่างเยือกเย็น


เมื่อได้ข้อคิดตามนี้แล้วจึงลองสร้างตารางข้อมูลประมาณมูลค่าหุ้นดู โดยใช้ข้อมูล 4 ตัวคือ สินทรัพย์ หนี้สิน จำนวนหุ้นจดทะเบียน และอัตราผลตอบแทนเงินปันผล ที่กดเอาจากเว็บ settrade.com ปรากฎว่าตาสว่างเลยครับ แต่ก่อนเราไม่รู้เลยว่าหุ้นถูกหรือแพง ได้แต่เชื่อนักวิเคราะห์ ซื้อหุ้นตามข่าวหรือตามที่คิดเอาเองว่ามันจะต้องขึ้น เพียงคำนวณง่าย ๆ เราก็สามารถประมาณมูลค่าพื้นฐานของหุ้นประกอบการตัดสินใจลงทุนได้เอง มิน่าล่ะเซียนระดับ มาร์ค โมเบียส ถึงมองหุ้นทะลุได้อย่างรวดเร็ว ท่านอื่น ๆ ลองดูบ้างก็ได้นะครับ


[Read this post in English]



ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่ facebook.com/thstockinvest twitter.com/thstockinvest

เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial

หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา  ชำแหละพื้นฐานหุ้น