Monday, August 22, 2011

SIS กราฟรายสัปดาห์เกิดการบีบอัดของแถบบอลลิงเกอร์ น่าจะทำนิวไฮ ในไม่ช้า


กราฟรายสัปดาห์ของหุ้น SIS แสดงพฤติกรรมน่าสนใจอย่างหนึ่งคือ ก่อนการไต่ราคาเพื่อขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ มักเกิดการบีบตัวของแถบบอลลิงเกอร์ ซึ่งผมวาดในกราฟด้วยลูกศรสองอันอัดเข้าหากัน เมื่อบีบแล้วจะระเบิดออกจากกันพร้อมการพุ่งของราคาหุ้นเพื่อทำจุดสูงสุดใหม่ เหตุการณ์แบบนี้ได้เกิดขึ้นมาแล้วอย่างน้อยสี่ครั้งในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบัน แถบบอลลิงเกอร์กำลังบีบตัวอีกครั้งหนึ่งซึ่งจะต้องระเบิดออกอีกครั้ง ตามปกติการระเบิดของแถบบอลลิงเกอร์อาจมีการพุ่งของราคาขึ้นบน หรือลงข้างล่างก็ได้ แต่ในกรณีของ SIS ในขณะนี้ ผมคาดว่าน่าจะระเบิดพุ่งขึ้น เนื่องจากปัจจัย MACD อยู่ด้านลบและกำลังเคลื่อนตัวขึ้นไปตัดแกนศูนย์ สัญญาณ RSI กำลังเคลื่อนเข้าใกล้ 50% อย่างไรก็ตามระยะเวลาในการบีบอัดตัวของแถบบอลลิงเกอร์อาจจะสั้นเหมือนที่เกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2011 หรืออาจจะยาวเหมือนที่เกิดเมื่อกลางปี 2010 ก็ได้ครับ


====================================================================
ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่    facebook.com/thstockinvest    twitter.com/thstockinvest 

เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial

หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น

เก็บความรู้ลงกล่อง " ผ่างบการเงิน ชำแหละพื้นฐานหุ้น ลงทุนถูกเวลา"

BANPU ได้ปรับฐานลงมาถึงแนวรับสำคัญที่ 656 บาทแล้ว ถ้ารับอยู่จะย้อนกลับไปทดสอบ 868 บาท ถ้าไม่อยู่ ไป 500 บาท


 

กราฟรายสัปดาห์ของ BANPU แสดงการปรับฐานราคาที่ดำเนินมากว่า 8 เดือน บัดนี้ราคาหุ้นได้ลดลงมาจนถึงแนวรับสำคัญ แถว ๆ 656 บาท และเป็นแนวต้านซึ่งแข็งแกร่งมากของปี 2010 ที่ต้องใช้เวลากว่า 8 เดือนจึงฝ่าไปได้ นอกจากที่ระดับนี้ จะเป็นแนวต้านสำคัญของปีที่แล้ว และเป็นแนวรับสำคัญของปีนี้ ราคาหุ้นยังถูกทุบลงมาแตะเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 100 สัปดาห์ (SMA100W) บริเวณ 656 บาทพอดีอีกด้วย (ก่อนที่จะเด้งกลับไปปิดที่ 658 บาท) เมื่อพิจารณาสัญญาณ RSI พบว่า ได้ลดลงเหลือ 35.67% เข้าเขตขายมากเกินไป (oversold) แล้ว ถ้าราคาหุ้นสามารถยืนเหนือระดับ SMA100W นี้ได้ น่าจะเป็นการสิ้นสุดการพักฐานในรอบนี้แล้วครับ แต่หากหลุดแนวเส้นนี้ลงไป แนวรับถัดไปจะอยู่ที่ประมาณ 500 บาท ตรงกับเส้น SMA200W และแนวต้านเดิมของปี 2008 ก่อนวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่าไม่น่าจะหลุดลงไปถึงระดับนั้นได้ครับ 

จากการพิจารณากราฟหุ้นหลายตัวในการปรับฐานราคาหลาย ๆ ครั้ง ผมสังเกตได้ว่าก่อนการพุ่งทะยานขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ ราคาหุ้นจะต้องพยายามฝ่าแนวต้านที่มักจะเป็นจุดสูงสุดเดิมของรอบก่อนด้วยการทดสอบหลายครั้ง เมื่อผ่านขึ้นไปได้จะพุ่งแรงและทำจุดสูงสุดใหม่ จากนั้นจะซึมยาวลงมาจนถึงจุดแนวต้านเดิมที่เพิ่งฝ่าพ้นมาได้ แล้วจึงจะสามารถขึ้นไปใหม่อีกครั้ง ในกราฟข้างบน หลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ราคาหุ้นได้ไต่ระดับย้อนขึ้นไปสู่ระดับก่อนวิกฤติอย่างรวดเร็วตลอดปี 2009 เมื่อผ่านจุดสูงสุดรอบก่อนที่ราคา 500 บาทไปได้ไม่นาน ก็ขึ้นไปสู่ระดับ 656 บาท แล้วจึงย้อนลงมาพักที่ 500 บาทและไต่ไปวิ่งเหยาะ ๆ อยู่กับที่ ณ 656 บาทอยู่หลายเดือนกว่าที่จะผ่านไปได้ ทำให้ระดับราคา 656 บาท กลายเป็นแนวต้านสำคัญที่จะต้องย้อนกลับมาแวะก่อนอีกครั้งในอนาคต หลังจากผ่านแนวต้านสำคัญนั้นมาได้ ราคาหุ้นได้พุ่งไปทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 868 บาท เมื่อปลายปี 2010 ก่อนจะซึมลงยาว 8 เดือนจนลงมาแตะระดับแนวต้านสำคัญเก่า หรือเป็นแนวรับสำคัญใหม่ที่ระดับ 656 บาทในปัจจุบัน ข้อคิดสำหรับนักลงทุนที่มีวงเงินมาร์จิ้นซึ่งสามารถยืมเงินจากโบรกเกอร์มาซื้อหุ้นได้คือ เมื่อหุ้นสามารถฝ่าแนวต้านสำคัญขึ้นไปได้ควรเข้าซื้อตามน้ำด้วยเงินกู้แล้วปล่อยให้วิ่งจนขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ (จุดนี้สังเกตได้บริเวณปลายปี 2010 ปริมาณซื้อขายค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ ขณะที่ราคาหุ้นเคลื่อนออกด้านข้าง แล้วทันใดนั้นก็มีปริมาณซื้อขายเข้ามาเป็นสองเท่าของสัปดาห์ก่อน พร้อมกับการพุ่งทำราคาสูงสุดใหม่ ตรงกับที่คุณวิชัย  วชิรพงศ์ บอกไว้ว่า วอลลุ่มพีค  ราคาพีค) เมื่อเกิดสัญญาณ พีค ดังกล่าวแล้ว เราควรขายหุ้นในส่วนที่ใช้เงินกู้มาซื้อที่ระดับราคาตั้งแต่แนวต้านสำคัญเดิม (656 บาท) ขึ้นไป เก็บส่วนที่ซื้อมาด้วยราคาต่ำกว่านี้เอาไว้เป็นทุนเพื่อกินปันผล จากนั้นจึงรอให้หุ้นซึมลงมาถึงแนวรับสำคัญซึ่งก็คือแนวต้านสำคัญของรอบก่อนหน้า จึงเข้าสะสมหุ้นเพิ่มเติมอีกครั้ง ตามแผนการลงทุนนี้ เราจะสามารถเข้าซื้อหุ้นเมื่อผ่านแนวต้านสำคัญไปได้เป็นจำนวนมากกว่าเงินสดที่มีอยู่ด้วยเงินกู้ (มีดอกเบี้ย) ขายส่วนที่ได้มาใหม่ดังกล่าวเมื่อสังเกตเห็น วอลลุ่มพีค ราคาพีค (ต้องเห็น ไม่งั้นพัง) เมื่อเห็นสัญญาณแล้วก็ขายส่วนเกินใช้หนี้ดอกเบี้ย และเก็บกำไรที่เหลือเป็นเงินสดรอโอกาสซึมลงมาแตะแนวรับสำคัญเพื่อเข้าซื้อสะสมในหุ้นตัวนี้อีกครั้ง หรือเอาเงินไปลงตัวใหม่ที่อาจจะมีโอกาสงาม ๆ มาในระหว่างรอน้ัน สำหรับหุ้นบ้านปู การซึมลงมาหาแนวรับสำคัญหรือแนวต้านสำคัญเดิมที่ 656 บาทนี้ใช้เวลา 8 เดือนแล้ว หากนักลงทุนไม่ขายทำกำไรตอนวอลลุ่มพีค ราคาพีค ก็จะมีภาระดอกเบี้ยจากเงินกู้มาร์จิ้นมากพอสมควร และเสียโอกาสการมีเงินสดเพื่อนำมาลงทุนเพิ่มเติมอีกด้วย
เพื่อนนักลงทุนควรสังเกตลักษณะการพักฐานราคาของหุ้นตัวอื่น ๆ อีกจะเห็นแนวโน้มความเป็นไปคล้ายหุ้นบ้านปู ตัวอย่างเช่นการพักฐานของ CK (ดูที่นี่) เป็นต้นครับ


====================================================================
ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่    facebook.com/thstockinvest    twitter.com/thstockinvest 

เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial

หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น

เก็บความรู้ลงกล่อง " ผ่างบการเงิน ชำแหละพื้นฐานหุ้น ลงทุนถูกเวลา"

Tuesday, August 16, 2011

รายได้และกำไรสุทธิคาดหมายของ IVL ไตรมาส 2011Q3 ตามเป้ารายได้ใหม่ของผู้บริหาร


จากการที่ผมได้ทำการวิเคราะห์แนวโน้ม revenue หุ้น IVL ด้วยหลักสถิติ data regression โดยใช้สมการแนวโน้มแบบเชิงเส้น และแบบเอกซ์โปเนนเชียล แล้วนำผลของทั้งสองแบบมาหาค่าเฉลี่ย แล้วได้ค่า revenue คาดหมายสำหรับไตรมาส 2011Q3 เท่ากับ 10.18 บาทต่อหุ้น ซึ่งเพื่อนนักลงทุนสามารถย้อนกลับไปอ่านได้ (ที่นี่) ในวันนี้ทาง IVL ได้ทำการปรับเป้าหมายรายได้สำหรับปี 2011 จากเดิมที่เพิ่มขึ้น +70 % yoy เป็น +110 % yoy ทำให้เราได้ข้อมูลใหม่ประกอบการคาดการณ์รายได้และกำไรสำหรับไตรมาส 2011Q3 เพิ่มขึ้นอีก ผมจะใช้ข้อมูลใหม่นี้ในการปรับการวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินกิจการของ IVL ให้ถูกต้องมากขึ้น ขั้นตอนมีดังนี้ครับ 
  • ผู้บริหารของ IVL คาดว่ารายได้ในปี 2011 จะเพิ่มขึ้น +110% yoy หมายความว่า รายได้ของปี 2011 น่าจะเท่ากับ รายได้ของปี 2010 + ( 1.10 * รายได้ของปี 2010 )
  • จากข้อมูลที่มีอยู่ในผลการชำแหละพื้นฐานหุ้น IVL ฉบับสมบูรณ์ สิ้นสุด 2011Q1 (ที่นี่) รายได้ของปี 2010 เท่ากับ ( 5.64 + 5.69 + 5.61 + 5.84 ) = 22.78 บาท ดังนั้นในปี 2011 รายได้จะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วอีก 1.10 * 22.78 = 25.06 บาท หรือพูดได้ว่า ในปี 2011 ผู้บริหารคาดหมายรายได้ 22.78 + 25.06 = 47.84 บาท
  • จากข้อมูลรายได้ของปี 2011 จนถึงปัจจุบัน IVL มีรายได้แล้ว 9.82 + 10.81 = 20.63 บาท ดังนั้น รายได้ที่น่าจะทำได้สำหรับครึ่งหลังของปี 2011 คือ 47.84 - 20.63 = 27.21 บาท
  • สมมมุติว่า ไตรมาส 2011Q3 และ 2011Q4 มีรายได้เท่ากัน จะได้ว่าแต่ละไตรมาสมีรายได้ 27.21 / 2 = 13.60 บาท ดังนั้น การคาดการณ์รายได้ 2011Q3 เท่ากับ 10.18 บาท ที่ได้จากค่าเฉลี่ยของ data regression แบบเชิงเส้นและแบบเอกซ์โปเนนเชียลจึงค่อนข้างอนุรักษ์นิยมเกินไปเทียบกับคาดการณ์รายได้ใหม่ของผู้บริหาร ดังนั้นจึงควรปรับสมการ regression ให้ได้แนวโน้มรายได้ที่สูงมากขึ้น ซึ่งผมขอยกไปกล่าวในโพสต์หน้านะครับ
  • จากข้อมูลที่มีอยู่ในผลการชำแหละพื้นฐานหุ้น IVL ฉบับสมบูรณ์ สิ้นสุด 2011Q1 (ที่นี่) ผมเคยชี้ไว้ว่าค่า EPS รายไตรมาส เทียบกับรายได้ของ IVL มีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย โดยในไตรมาส 2011Q1 มี่ค่าประมาณ 10 % ดังนั้นจึงคาดหมาย EPS สำหรับไตรมาส 2011Q3 ตามข้อมูลใหม่ดังกล่าวมาแล้วได้เท่ากับ 0.10 * รายได้ไตรมาส 2011Q3 = 0.10 * 13.6 = 1.36 บาทต่อหุ้น ตรงกับผลที่หาได้ตามแนวการวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ยของ data regression แบบเชิงเส้นและเอกซ์โปเนนเชียล ที่ได้ค่า EPS = 1.36 บาทต่อหุ้น อย่างที่ผมก็ไม่เคยคาดคิดมาก่อนจนเดี๋ยวนี้เองครับ เพื่อนนักลงทุนสามารถย้อนกลับไปอ่านคาดหมาย EPS ของ 2011Q3 ที่ผมโพสต์เมื่อวานได้ (ที่นี่) ครับ




    =============================================
    ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
    เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial
    หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"

ความสัมพันธ์แบบ "วอลลุ่มพีค ราคาพีค" ระหว่างราคาและปริมาณการซื้อขายหุ้น CK

ในกราฟรายสัปดาห์ของ CK ข้างล่าง ผมตั้งข้อสังเกตลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการซื้อขายและการทำจุดสูงสุดของราคาหุ้นได้ว่า เป็นความสัมพันธ์แบบ "วอลลุ่มพีค ราคาพีค" ผมตรวจสอบดูในกราฟรายวันของ CK พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ตามนี้แต่อย่างใด ดังนั้นการหาจังหวะขายทำกำไรสำหรับกรณีหุ้น CK นั้น เพื่อนนักลงทุนควรใช้กราฟรายสัปดาห์เป็นหลัก (ใช้กราฟรายเดือนร่วมในการพิจารณาด้วยก็ได้) และใช้กราฟแสดงปริมาณการซื้อขายซึ่งมีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 3 สัปดาห์ (SMA3W) 




นอกจากข้อสังเกตเรื่อง "วอลลุ่มพีค ราคาพีค" แล้ว กราฟข้างบนยังแสดงลักษณะการพักฐานของหุ้น CK ด้วยว่า ในการปรับฐานรอบที่แล้ว ราคาหุ้น CK ได้ลดระดับลงมาแตะเส้นค้าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 100 สัปดาห์ ก่อนแล้วจึงจะสามารถฝ่าเส้นแนวโน้มขาลงขึ้นไปทำ new high ได้ ในรอบปัจจุบัน ราคาหุ้นได้พักฐานโดยการลดระดับลงมาแตะเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 100 สัปดาห์แล้วอีกครั้งหนึ่ง ขณะนี้กำลังจ่อเส้นแนวโน้มขาลง โปรดสังเกตว่าแท่งฮิสโตแกรมขอวสัญญาณ MACD ได้โผล่ขึ้นไปด้านบวกแล้ว 1 แท่ง และสัญญาณ RSI อยู่ที่ 42.10 % ส่วนวอลลุ่มก็อยู่ระดับต่ำมาหลายเดือนแล้ว ลักษณะสัญญาณทางเทคนิคดังกล่าว ผมคาดว่าอีกภายใน 2-3 สัปดาห์ ราคาหุ้นน่าจะฝ่าเส้นแนวโน้มขาลงไปพักเอาแรงแถว ๆ 9 บาท แล้วน่าจะพุ่งขึ้นไปทำ new high ได้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อนนักลงทุนที่มีหุ้น CK อยู่วางแผนต้อนรับ new high รอบนี้หรือยังครับ


====================================================================
ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่    facebook.com/thstockinvest    twitter.com/thstockinvest 

เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial

หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น

เก็บความรู้ลงกล่อง " ผ่างบการเงิน ชำแหละพื้นฐานหุ้น ลงทุนถูกเวลา"

วิเคราะห์แนวโน้ม รายได้ ของ IVL 2009Q4-2011Q2 ด้วย data regression


ผมทำการวิเคราะห์ revenue per share ของ หุ้น IVL ด้วยหลักสถิติ data regression ตามขั้นตอนดังนี้ 
  • กรอกข้อมูล revenue รายไตรมาส ของ IVL ลงในแผ่นทำงานของ Excel กำหนดเป็นข้อมูลของแกนตั้งของกราฟ Revenue (THB) หน่วยเป็นบาท
  • เนื่องจากชื่อไตรมาสไม่มีค่าทางคณิตศาสตร์ จึงกำหนดค่าข้อมูลให้แต่ละไตรมาสเป็นเลขเรียงลำดับ 1-7 ใช้แทนเวลาที่ผ่านไป กำหนดเป็นข้อมูลของแกนนอนของกราฟ Time (quarter) หน่วยเป็นไตรมาส
  • สร้างกราฟใน Excel แบบ scattering chart โดยให้ Time (quarter) เป็นแกนนอน และ Revenue (THB) เป็นแกนตั้ง
  • เอาเมาส์แตะที่จุดข้อมูลในกราฟ คลิกปุ่มขวาของเมาส์ เลือก Add Trendline
  • ในแถบ Type เลือก Linear ในแถบ Options ทำเครื่องหมายถูกหน้า Display equation on chart และ Display R-squared value on chart แล้วคลิก OK กราฟจะแสดงเส้นแนวโน้มแบบเชิงเส้น สมการแนวโน้มแบบเชิงเส้น และค่าความมั่นใจ (R2)
  • เอาเมาส์แตะที่จุดข้อมูลในกราฟ คลิกปุ่มขวาของเมาส์ เลือก Add Trendline
  • ในแถบ Type เลือก Exponential ในแถบ Options ทำเครื่องหมายถูกหน้า Display equation on chart และ Display R-squared value on chart แล้วคลิก OK กราฟจะแสดงเส้นแนวโน้มแบบเอกซ์โปเนนเชียล สมการแนวโน้มแบบเอกซ์โปเนนเชียล และค่าความมั่นใจ (R2)
แนวโน้ม revenue per share ของ IVL แบบเชิงเส้นเป็นไปตามสมการ y = 0.7807x + 3.9871 ความมั่นใจที่จะใช้สมการนี้แทนข้อมูลทุกจุด อยู่ที่ 57.59% ค่าความมั่นใจของแนวโน้มนี้ค่อนข้างน้อยเนื่องจากการสวิงขึ้นแรงในไตรมาส 2011Q1 และ 2011Q2 ในกราฟข้างล่างเส้นประขีดยาวแทนแนวโน้มแบบเชิงเส้นนี้จะเห็นว่าแทนชุดข้อมูลได้ดีพอสมควร จากสมการนี้เมื่อต้องการคาดเดาค่า revenue ของ IVL สำหรับไตรมาส 2011Q3 ผมกรอก x = 8 ลงในสมการ ได้ค่า Revenue (linear) = 10.23 บาท

แนวโน้ม earning per share ของ IVL แบบเอกซ์โปเนนเชียลเป็นไปตามสมการ y = 4.6422*EXP(0.0974x) ความมั่นใจที่จะใช้สมการนี้แทนข้อมูลทุกจุด อยู่ที่ 55.20% ค่าความมั่นใจของแนวโน้มนี้ค่อนข้างน้อยเนื่องจากการสวิงขึ้นแรงในไตรมาส 2011Q1 และ 2011Q2 ในกราฟข้างล่างเส้นประขีดยาวแทนแนวโน้มแบบเอกซ์โปเนนเชียลนี้จะเห็นว่าแทนชุดข้อมูลได้ดีพอสมควร จากสมการนี้เมื่อต้องการคาดเดาค่า Revenue ของ IVL สำหรับไตรมาส 2011Q3 ผมกรอก x = 8 ลงในสมการ ได้ค่า Revenue (exponential) = 10.12 บาท







จากกราฟข้างบน แนวโน้มทั้งสองแบบใช้แทนชุดข้อมูลได้ดีทั้งคู่ ดังนั้นผมจึงคาดเดาค่า Revenue ของ IVL ด้วยค่าเฉลี่ยของค่าที่ได้จากแนวโน้มทั้งสอง ได้ค่าตามแนวโน้มดังกราฟข้างล่างครับ สำหรับค่า EPS คาดเดาเฉลี่ยของ IVL ในไตรมาสหน้า (2011Q3) คือ (10.23 + 10.12 ) / 2 = 10.18 บาทต่อหุ้น ค่านี้เป็นเพียงเครื่องแสดงแนวโน้มของ Revenue ไม่ใช่ค่าที่เพื่อนนักลงทุนจะเอาไปใช้อย่างจริงจังแต่อย่างใดครับ








=============================================
ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial
หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"

วิเคราะห์แนวโน้ม EPS ของ IVL 2009Q4-2011Q2 ด้วย data regression


ผมทำการวิเคราะห์ earning per share ของ หุ้น IVL ด้วยหลักสถิติ data regression ตามขั้นตอนดังนี้ 
  • กรอกข้อมูล EPS รายไตรมาส ของ IVL ลงในแผ่นทำงานของ Excel กำหนดเป็นข้อมูลของแกนตั้งของกราฟ EPS (THB) หน่วยเป็นบาท
  • เนื่องจากชื่อไตรมาสไม่มีค่าทางคณิตศาสตร์ จึงกำหนดค่าข้อมูลให้แต่ละไตรมาสเป็นเลขเรียงลำดับ 1-7 ใช้แทนเวลาที่ผ่านไป กำหนดเป็นข้อมูลของแกนนอนของกราฟ Time (quarter) หน่วยเป็นไตรมาส
  • สร้างกราฟใน Excel แบบ scattering chart โดยให้ Time (quarter) เป็นแกนนอน และ EPS (THB) เป็นแกนตั้ง
  • เอาเมาส์แตะที่จุดข้อมูลในกราฟ คลิกปุ่มขวาของเมาส์ เลือก Add Trendline
  • ในแถบ Type เลือก Linear ในแถบ Options ทำเครื่องหมายถูกหน้า Display equation on chart และ Display R-squared value on chart แล้วคลิก OK กราฟจะแสดงเส้นแนวโน้มแบบเชิงเส้น สมการแนวโน้มแบบเชิงเส้น และค่าความมั่นใจ (R2)
  • เอาเมาส์แตะที่จุดข้อมูลในกราฟ คลิกปุ่มขวาของเมาส์ เลือก Add Trendline
  • ในแถบ Type เลือก Exponential ในแถบ Options ทำเครื่องหมายถูกหน้า Display equation on chart และ Display R-squared value on chart แล้วคลิก OK กราฟจะแสดงเส้นแนวโน้มแบบเอกซ์โปเนนเชียล สมการแนวโน้มแบบเอกซ์โปเนนเชียล และค่าความมั่นใจ (R2)
แนวโน้ม earning per share ของ IVL แบบเชิงเส้นเป็นไปตามสมการ y = 0.1543x + 0.2171 ความมั่นใจที่จะใช้สมการนี้แทนข้อมูลทุกจุด อยู่ที่ 24.38% ค่าความมั่นใจของแนวโน้มนี้ค่อนข้างน้อยเนื่องจากการสวิงขึ้นแรงในไตรมาส 2011Q1 และลงแรงในไตรมาส 2011Q2 ในกราฟข้างล่างเส้นประขีดยาวแทนแนวโน้มแบบเชิงเส้นนี้จะเห็นว่าแทนชุดข้อมูลได้ดีพอสมควร จากสมการนี้เมื่อต้องการคาดเดาค่า EPS ของ IVL สำหรับไตรมาส 2011Q3 ผมกรอก x = 8 ลงในสมการ ได้ค่า EPS (linear) = 1.45 บาท

แนวโน้ม earning per share ของ IVL แบบเอกซ์โปเนนเชียลเป็นไปตามสมการ y = 0.3748*EXP(0.1526x) ความมั่นใจที่จะใช้สมการนี้แทนข้อมูลทุกจุด อยู่ที่ 29.95% ค่าความมั่นใจของแนวโน้มนี้ค่อนข้างน้อยเนื่องจากการสวิงขึ้นแรงในไตรมาส 2011Q1 และลงแรงในไตรมาส 2011Q2 ในกราฟข้างล่างเส้นประขีดยาวแทนแนวโน้มแบบเอกซ์โปเนนเชียลนี้จะเห็นว่าแทนชุดข้อมูลได้ดีพอสมควร จากสมการนี้เมื่อต้องการคาดเดาค่า EPS ของ IVL สำหรับไตรมาส 2011Q3 ผมกรอก x = 8 ลงในสมการ ได้ค่า EPS (exponential) = 1.27 บาท







จากกราฟข้างบน แนวโน้มทั้งสองแบบใช้แทนชุดข้อมูลได้ดีทั้งคู่ ดังนั้นผมจึงคาดเดาค่า EPS ของ IVL ด้วยค่าเฉลี่ยของค่าที่ได้จากแนวโน้มทั้งสอง ได้ค่าตามแนวโน้มดังกราฟข้างล่างครับ สำหรับค่า EPS คาดเดาเฉลี่ยของ IVL ในไตรมาสหน้า (2011Q3) คือ (1.45 + 1.27 ) / 2 = 1.36 บาทต่อหุ้น ค่านี้เป็นเพียงเครื่องแสดงแนวโน้มของ EPS ไม่ใช่ค่าที่เพื่อนนักลงทุนจะเอาไปใช้อย่างจริงจังแต่อย่างใดครับ







=============================================
ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial
หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"