Sunday, January 1, 2012

มูลค่าที่แท้จริงและระดับเข้าลงทุนความเสี่ยงต่ำของหุ้น PTL เปรียบเทียบแนวอนุรักษ์นิยมและ THStock Invest

จากที่ผมได้พาเพื่อนนักลงทุนคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น PTL แบบอนุรักษ์นิยม ด้วยข้อสมมุติว่า ตลอด 10 ปีข้างหน้า PTL จะสร้างกำไรของผู้ถือหุ้นให้เราเท่ากับ 1.95 บาท เท่ากันทุกปี และในปีที่ 10 เราขายกิจการทั้งหมดออกไปที่ราคา 10-15 เท่าของกำไรของผู้ถือหุ้นปีที่ 10 เมื่อแปลงมูลค่าเงินในอนาคตมาเป็นมูลค่าปัจจุบันด้วยอัตราต้นทุนเงินลงทุนของเรา 9% จะได้มูลค่าที่แท้จริงของ PTL อยู่ในช่วง 20.70 - 24.81 บาทต่อหุ้น ซึ่งผมขอเรียกการประเมินมูลค่าหุ้นแบบนี้ว่า Conservative approach ดังได้กล่าวไว้อย่างละเอียด ที่นี่ ครับ
ในความเป็นจริงแล้ว ผลประกอบการของ PTL มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการประเมินมูลค่าหุ้นแบบอนุรักษ์นิยมอาจเป็นการมองโลกในแง่ร้ายไปสักหน่อย ถ้าเราปรับมุมมองด้วยการใช้ข้อมูลทางสถิติเข้าช่วย แล้วตั้งสมมุติฐานคาดหมายผลประกอบการตามข้อมูลแนวโน้มนั้น จะทำให้ได้มูลค่าหุ้นที่สูงกว่าการประเมินด้วย conservative approach ซึ่งผมขอเรียก วิธีการทางสถิติแบบ data regression ที่เอามาใช้นี้ว่า THStock Invest approach เป็นการมองอนาคตในแง่ดี มีการเติิบโตของกิจการอย่างต่อเนื่อง หรือสุดขั้วไปทางด้านบวก สุดท้ายเมื่อจะพิจารณาระดับราคาหุ้นที่จะสามารถเข้าลงทุนด้วยความเสี่ยงต่ำ เราจะนำผลลัพธ์จากทั้งสองวิธีมารวมกัน โดยใช้ความน่าจะเป็นที่ทั้งสอง approach จะเกิดขึ้นในสัดส่วนต่าง ๆ กัน กล่าวคือ Conservative approach : THStock Invest approach มีสัดส่วน 100:0, 80:20, 50:50, 20:80 และ 0:100 ตามลำดับ เกิดเป็นระดับมูลค่าหุ้นที่ควรจะเป็นหลายระดับให้เลือกใช้ตาม perception หรือมุมมองของนักลงทุนแต่ละคนที่มีต่อหุ้นที่กำลังพิจารณาครับ สำหรับขั้นตอนการประมาณมูลค่าหุ้นที่แท้จริงตาม THStock Invest approach มีดังนี้

เริ่มจากการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกำไรของผู้ถือหุ้นแบบสะสมและรายได้แบบสะสมของกิจการในรอบ 15 ไตรมาสที่ผ่านมา เราพบว่า ในช่วงต้น กิจการมีกำไรของผู้ถือหุ้นแบบสะสมเป็นลบ และเพิ่งเปลี่ยนมาเป็นค่าบวกเมื่อกลางปี 2010 เป็นต้นมา เนื่องจากแต่ละไตรมาสที่ผ่านไป กิจการอาจมีกำไรของผู้ถือหุ้นเป็นบวกหรือลบก็ได้ ดังนั้นจึงเกิดความยุ่งยากเกี่ยวกับเครื่องหมายบวกหรือลบของกำไรของผู้ถือหุ้น ทำให้เราประเมินแนวโน้มความเป็นไปของกิจการได้ยากขึ้น แต่ถ้าพิจารณาในเแง่ของรายได้แบบสะสมแทนจะพบว่า ในกรณีทั่วไปค่ารายได้สะสมของกิจการจะเป็นบวกและไต่ระดับขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการสลับเครื่องหมายของตัวเลขรายได้สะสม ดังนั้นการประเมินแนวโน้มความเป็นไปของกิจการด้วยค่ารายได้สะสมจึงสะดวกกว่าการประเมินด้วยกำไรของผู้ถือหุ้นโดยตรง เมื่อเราทราบความสัมพันธุ์ระหว่างรายได้สะสมและกำไรของผู้ถือหุ้นสะสม เราจะสามารถหากำไรของผู้ถือหุ้นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ต่อไป ตารางข้างล่างแสดงค่าตัวเลขของรายได้สะสมและกำไรของผู้ถือหุ้นสะสมสำหรับไตรมาสต่าง ๆ ครับ 


ค่าตัวเลขของข้อมูลรายได้สะสมและกำไรของผู้ถือหุ้นสะสมจากตารางข้างบน เมื่อนำมาวาดกราฟโดยให้รายได้สะสมเป็นแกน x และกำไรของผู้ถือหุ้นเป็นแกน y โดยตัดข้อมูลสามจุดของปี 2005-2007 ออกไปเนื่องจากในช่วงนั้นกิจการยังไม่เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ จะพบการกระจายข้อมูลดังกราฟข้างล่าง โดยที่วงกลมใหญ่มีจุดดำคล้ายเม็ดแมงลักแช่น้ำเป็นจุดข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงของหุ้น PTL ในช่วงระหว่าง 14 ไตรมาสที่ผ่านมา เมื่อใช้วิธีการทางสถิติที่เรียกว่า linear regression หาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้สะสมและกำไรของผู้ถือหุ้นสะสม พบว่าเป็นไปตามสมการ y = 0.1752x - 7.7910 ดังเส้นแนวโน้มสีเหลืองเข้มในกราฟข้างล่าง สมการนี้สามารถใช้แทนข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงด้วยความมั่นใจ 97.63% จากภาพกราฟข้างล่างจะเห็นได้ว่าสมการดังกล่าวลากผ่านจุดข้อมูลได้ค่อนข้างดี ดังนั้นเมื่อเราได้ผลการคาดหมายรายได้สะสมของกิจการใน 10 ปีข้างหน้าแล้ว เราจะใช้สมการนี้เพื่อคาดหมายกำไรของผู้ถือหุ้นจากรายได้คาดหมายในอนาคตต่อไป


เมื่อทราบลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างรายได้สะสมและกำไรของผู้ถือหุ้นสะสมของหุ้น PTL แล้ว ต่อไปเราจะทำการคาดหมายรายได้สะสมของ PTL ใน 10 ปีข้างหน้าครับ จากการชำแหละงบการเงิน เรามีข้อมูลรายได้ของกิจการเป็นรายไตรมาสดังภาพข้างล่าง ซึ่งถ้าใช้ข้อมูลนี้มาคาดหมายว่า ใน 10 ปี (40 ไตรมาส) ข้างหน้า PTL จะมีแนวโน้มรายได้เป็นอย่างไร เพื่อความสะดวก เราจะกำหนดให้ไตรมาสล่าสุด (2011Q3) เป็นไตรมาสที่ 0 และไตรมาสก่อนหน้านั้นย้อนไปในอดีตเป็นไตรมาส -1, -2, ... , -13, -14 ส่วนไตรมาสที่ยังมาไม่ถึงในอนาคตช่วง 10 ปีข้างหน้าเป็นไตรมาส 1, 2, ... , 39, 40 จากนั้นเราจะหาสมการซึ่งมีเส้นกราฟลากผ่านจุดข้อมูลรายได้สะสมของไตรมาสต่าง ๆ ที่ผ่านมาในอดีตได้ดีที่สุด สมการดังกล่าวหาได้โดยใช้เครื่องมือทางสถิติที่เรียกว่า data regression ผ่าน โปรแกรม Excel หรือ Open Office Calc ซึ่งต่างก็มีฟังก์ชันสำเร็จรูปที่สามารถหาสมการดังกล่าวนี้ได้อย่างง่ายดาย จากการทดลองพบว่าการใช้สมการแนวโน้มแบบเส้นโค้งยกกำลังสอง (quadratic regression) จะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด สำหรับรายละเอียดการหาค่าของสมการเส้นโค้งยกกำลังสองที่ใช้แทนชุดข้อมูลนั้น ผมเคยโพสต์ตัวอย่างโดยละเอียดไว้แล้ว ที่นี่ ครับ





เมื่อใช้วิธีการ data regression มาหาสมการที่ใช้แทนชุดข้อมูลรายได้สะสมของ PTL สำหรับไตรมาสต่าง ๆ ในอดีตตามตารางข้างบน จะได้สมการแทนชุดข้อมูลคือ y = 0.086x2 + 3.946x + 61.707 โดยที่ x เป็นตัวเลขจำนวนเต็มใช้แทนเวลา ณ ไตรมาสต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้น และ y เป็นประมาณการรายได้สะสมของไตรมาสนั้น ๆ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เราสามารถใช้สมการนี้แทนชุดข้อมูลรายได้สะสมที่เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ ในอดีต สมการดังกล่าวสามารถใช้แทนจุดข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงด้วยความมั่นใจ 99.78% ถ้านำสมการนี้มาประมาณค่ารายได้สะสมสำหรับไตรมาสต่าง ๆ ในอดีต 15 ไตรมาสที่ผ่านมา และในอนาคต 40 ไตรมาสข้างหน้า แล้ววาดเส้นกราฟของสมการเทียบกับข้อมูลจริง ดังกราฟข้างล่าง จะพบว่า เส้นกราฟลากผ่านจุดข้อมูลจริงของไตรมาส -14 ถึง ไตรมาส 0 ได้เป็นอย่างดี จุดข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในอดีตแสดงในกราฟข้างล่างเป็นวงกลมใหญ่ภายในมีจุดสีดำคล้ายเม็ดแมงลักแช่น้ำ ส่วนจุดข้อมูลที่ได้จากสมการประมาณค่ารายได้สะสมแสดงด้วยจุดสีเหลืองเข้ม



เมื่อนำสมการประมาณค่ารายได้สะสมมาแทนค่า x ด้วย ไตรมาส 1 ถึง 40 ในอนาคต จะได้ประมาณการรายได้สะสมของไตรมาสต่าง ๆ ใน 10 ปี ข้างหน้าออกมา ดังตารางข้างล่าง ข้อมูลที่ได้จากสมการเป็นค่าสะสม ณ สิ้นไตรมาสต่าง ๆ เนื่องจากเราทราบความสัมพันธ์โดยประมาณณระหว่างรายได้สะสมกับกำไรของผู้ถือหุ้นสะสมของ PTL แล้วว่าเป็นไปตามสมการ y =  0.1752x - 7.7910  โดยที่ x คือรายได้สะสม และ y คือกำไรของผู้ถือหุ้นสะสม กำไรของผู้ถือหุ้นสะสมที่หาได้สามารถแปลงเป็นข้อมูลเป็นแบบรายปีได้โดยการ เอาข้อมูลไตรมาสที่ 4 ลบด้วยข้อมูลไตรมาสที่ 0 ผลลัพธ์เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นในปีที่ 1 จากนั้นเอาข้อมูลของไตรมาสที่ 8 ลบออกด้วยข้อมูลไตรมาสที่ 4 ผลลัพธ์เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นในปีที่ 2 ทำไปจนครบ 10 ปี ผลลัพธ์จากการดำเนินการตามที่กล่าวมาแสดงในตารางข้างล่าง ครับ



กำไรของผู้ถือหุ้นที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 10 ปี ข้างหน้า เมื่อถูกคิดลดย้อนกลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน โดยใช้อัตราต้นทุนเงินที่นำมาลงทุน 9% (หารกำไรของผู้ถือหุ้นด้วย 1.09 เป็นจำนวนครั้งเท่ากับจำนวนปีที่ห่างออกไปในอนาคต) จะได้มูลค่ากำไรของผู้ถือหุ้นรวม ณ วันนี้ เท่ากับ 31.05 บาทต่อหุ้น ดังแสดงในตารางข้างล่าง ในปีที่ 10 ซึ่งเป็นปีที่เราขายกิจการทั้งหมดออกไปนั้น คาดว่า PTL จะสร้างกำไรของผู้ถือหุ้นคิดเป็นมูลค่าในวันนี้ได้ 3.10 บาทต่อหุ้น หากเราขายกิจการทั้งหมดออกไปในราคา 10 - 15 เท่าของกำไรของผู้ถือหุ้นปีสุดท้าย จะได้ราคาในปัจจุบันหุ้นละ 31.03 บาท ถึง 46.54 บาท ดังนั้นนับจากวันนี้ไปจนถึงวันขายกิจการออกไปใน 10 ปี ข้างหน้า เราจะได้เงินกลับมาจากการลงทุนเป็นมูลค่าในวันนี้ทั้งสิ้นหุ้นละ 31.05+31.03 = 62.07 บาท ถึง 31.05+46.54 = 77.59 บาท และช่วงราคานี้เองคือ มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น PTL ในวันนี้




สรุปมูลค่าที่แท้จริง (intrinsic value) ของหุ้น PTL เมื่อประมาณโดยใช้ THStock Invest approach (quadratic regression ของรายได้สะสม)
  • กำไรของผู้ถือหุ้นที่ PTL สร้างขึ้นได้ตลอด 10 ปี ข้างหน้า มีมูลค่าในวันนี้ รวมเป็น 31.05 บาทต่อหุ้น
  • เงินที่ได้รับจากการขายกิจการออกไปในปีที่ 10 มีมูลค่าในวันนี้เท่ากับ 31.03 - 46.54 บาทต่อหุ้น
  • มูลค่าที่แท้จริงในวันนี้ของหุ้น PTL คือ หุ้นละ 62.07 - 77.59 บาท (ใช้ราคาขายกิจการที่ 10 - 15 เท่าของกำไรของผู้ถือหุ้นปีที่ 10)
โมห์นิศ  ปะไพร แนะนำว่า ควรมีส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัยโดยเข้าซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าที่แท้จริง ซึ่งในที่นี้คือ ราคาหุ้นละ 31.04 - 38.79 บาท


โอกาสในการเกิดเหตุการณ์ตามการประมาณมูลค่าที่ควรจะเป็นของหุ้นด้วย conservative approach และ THStock Invest approach

ตามปกติการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นด้วย Conservative approach จะได้มูลค่ากิจการที่ต่ำกว่าการประเมินด้วย  THStock Invest approach  ในกรณีที่เพื่อนนักลงทุนชอบวิธีการที่อนุรักษ์นิยมมาก ๆ (ความเสี่ยงต่ำมาก) สามารถเลือกใช้ผลลัพธ์ที่ได้จากแนวทางแรก ส่วนท่านที่ขอรับความเสี่ยงสูงขึ้นได้อีกหน่อยสามารถเลือกใช้ผลลัพธ์ที่เกิดจากแนวทางหลัง อย่างไรก็ตามในบางครั้ง เราอาจจะนำผลลัพธ์จากทั้งสองแนวทางมาใช้ร่วมกันโดยกำหนดโอกาสที่แนวทางทั้งสองจะเกิดขึ้นเป็นสัดส่วนกัน แล้วใช้ Kelly formula ในการหาทางสายกลางระหว่างทั้งสองแนวทาง หลักการของ Kelly formula มีอยู่ว่า เรากำหนดโอกาสที่แต่ละแนวทางจะเกิดขึ้น เช่น สมมุติเราขายกิจการออกไปในปีที่ 10 ที่ราคา 10 เท่าของกำไรของผู้ถือหุ้น ถ้ากำหนดว่า Conservative approach ซึ่งให้มูลค่าที่แท้จริงของ PTL เท่ากับ 20.70 บาทต่อหุ้น มีโอกาสเกิดขึ้น 20% และ THStock Invest approach ซึ่งให้มูลค่าที่แท้จริงเท่ากับ 62.07 บาทต่อหุ้น มีโอกาสเกิดขึ้น 80% ดังนั้นมูลค่าที่ควรจะเป็นของ PTL อันเป็นผลมาจากแนวทางทั้งสองถ่วงน้ำหนักตามโอกาสที่แต่ละเหตุการณ์จะเกิดขึ้น ทำได้โดยการคูณโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ในแต่ละแนวทางกับมูลค่าที่ควรจะเป็นที่หาได้จากแนวทางนั้น ผลรวมของผลคูณทั้งสองเป็นมูลค่าหุ้นที่ควรจะเป็นแบบทางสายกลาง ดังนั้น มูลค่าที่แท้จริงของ PTL ตามกรณีตัวอย่างข้างต้น คือ (0.2*20.70) + (0.8*62.07) = 53.80 บาทต่อหุ้น ถ้าเรากำหนดส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย 50% ของมูลค่าที่แท้จริง ดังนั้นเราควรซื้อหุ้น PTL ในราคาต่ำกว่า 53.80 / 2 = 26.90 บาทต่อหุ้น ตารางข้างล่างแสดงมูลค่าที่แท้จริงของ PTL ซึ่งประมาณด้วยแนวทาง Conservative approachและ THStock Invest approach โดยขายกิจการออกไปในปีที่ 10 ที่ราคา 10 และ 15 เท่าของกำไรของผู้ถือหุ้นของปีที่ 10 สำหรับตารางต่อไป แสดงมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น PTL จากการประมาณของทั้งสองแนวทาง ตามโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ในสัดส่วนต่าง ๆ ได้แก่ 100:0, 80:20, 50:50, 20:80 และ 0:100 ตามลำดับ ส่วนตารางสุดท้ายแสดงมูลค่าที่แท้จริงของหุ้น PTL ในย่านการประมาณค่าแบบต่าง ๆ และจุดเข้าซื้อความเสี่ยงต่ำของแต่ละย่านครับ




=============================================
ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
เรียนรู้การดูกราฟหุ้นทางเทคนิคได้ที่ Free Stock Technical Analysis Tutorial
หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"