การกระตุ้นให้เศรษฐกิจกลับมาคึกคักแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่
วิธีการเชิงคุณภาพ (qualitative)
- มาตรการการคลัง
- อัดฉีดการใช้จ่ายภาครัฐ ขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบจัดการน้ำ ระบบประปา โครงข่ายถนน โครงข่ายทางด่วน รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ระบบรถไฟขนส่งสินค้า รถไฟความเร็วสูง เพิ่มเงินเดือนข้าราชการและองค์กรของรัฐ จำนำผลิตผลการเกษตร มาตรการแบบนี้ถูกจำกัดด้วยเพดานหนี้ต่อ GDP ซึ่งกำหนดโดยกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา
- ลดภาษีเช่น ลดภาษีบุคคลธรรมดา ลดภาษีนิติบุคคล ลดหรือตรึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดค่าโอนอสังหาริมทรัพย์ ลดภาษีบ้านหลังแรก รถคันแรก ยกเว้นภาษีบีโอไอ
- มาตรการการเงิน
- ธนาคารกลางลดดอกเบี้ยโดยตรง ซึ่งมักจะกำหนดให้ดอกเบี้ยต่ำ แต่สูงกว่าเงินเฟ้อเพียงเล็กน้อยเพื่อจูงในให้ประชาชนเอาเงินออกมาใช้จ่ายแทนที่จะเก็บไว้ในธนาคาร
วิธีการเชิงปริมาณ (quantitative)
เป็นวิธีการที่กระเดียดไปในทางไร้วินัย ซึ่งจะถูกนำมาใช้เมื่อวิธีการเชิงคุณภาพดำเนินการมาจนถึงข้อจำกัดแล้ว แต่เศรษฐกิจยังไม่สามารถกลับมาเติบโตได้ เป็นการดำเนินการโดยธนาคารกลางได้แก่
- ธนาคารกลางปั๊มเงินเพื่อเอาไปซื้อพันธบัตร (quantitative easing หรือ QE) ทำให้ดอกเบี้ยของพันธบัตรถูกกดลงต่ำกว่าระดับที่อันตราย (เมื่อประเทศใดได้รับความเชื่อถือน้อยลง จะต้องเสนอดอกเบี้ยสูงกว่าปกติจึงจะขายพันธบัตรได้ ระดับอันตรายคือประมาณ 7%)
- ธนาคารกลางดำเนินการกดดอกเบี้ยพันธบัตรลงทางอ้อมเช่น
- ขายพันธบัตรระยะสั้นเอาไปซื้อพันธบัตรระยะยาวในปริมาณเท่ากัน (operation twist)
- ปล่อยกู้ระยะยาวดอกเบี้ยต่ำให้แบงค์โดยตรงไม่ผ่านรัฐบาลเพื่อให้ธนาคารเหล่านั้นเอาเงินไปซื้อพันธบัตรของประเทศที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ (long-term refinancing operation)
- มาตรการอื่น ๆ มี่ยังไม่เคยทำมาก่อน
===================================================
ติดตาม "ลงทุนหุ้นไทย" ที่
หาเพื่อนนักลงทุนในกลุ่มสนทนา " ชำแหละพื้นฐานหุ้น"